ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger Geographic Information System : การสร้างแผนที่อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2564

การสร้างแผนที่อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

 การสร้างแผนที่ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ 

“แผนที่” คืออะไร สำคัญ อย่างไร และใช้ประโยชน์ในด้านไหนบ้าง 

          ก่อนอื่นเรามารู้จักความหมายของแผนที่กันก่อน แผนที่หมายถึง สิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกที่เกิดจากธรรมชาติ หรือที่มนุษย์สร้างขึ้น นำมาแสดงโดยการย่อลงบนแผ่นแบนราบ โดย ย่อให้ได้อัตราส่วนตามที่ต้องการ ใช้เครื่องหมาย,สัญลักษณ์,เส้น,สี ฯลฯ แทนสิ่งนั้นๆให้เข้าใจความหมายโดยง่าย (แอดตั้งเติมเล็กน้อย)

ตัวอย่างแผนที่  ราชอาณาจักรสยาม


เขียนโดย บาทหลวงปลาชิด เดอ แซ็งค์ เอแลน นักบวชชาวฝรั่งเศส สมัยพระนารายณ์มหาราช 

ใช้ลายเส้นวาดขอบเขตราชอาณาจักร ใช้สัญลักษณ์ แทนท่าเรือหรือเมืองท่า ซึ่งสมัยก่อน เดินทาง ขนส่งสินค้าทางเรือเป็นหลัก


        ปัจจุบัน ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ได้เข้ามามีบทบาทในการ จัดทำและจำแนกแผนที่ ให้เป็นหมวดหมู่มากขึ้น แผนที่จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ อย่างมาก ทั้งด้านการปกครอง ด้านความมั่นคงของประเทศ ด้านการทหาร ด้านการขนส่ง ฯลฯ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตที่ขาดไม่ได้ 

 แอดจะยกตัวอย่าง มาให้ชม ดังนี้

1.แผนที่ด้านการเมืองการปกครอง

          เป็นแผนที่หลัก ที่มีความสำคัญกับความมั่นคงของประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากบ่งบอกอำนาจอธิปไตยของประเทศ เส้นแบ่งเขตประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน แผนที่นี้จึงเป็นแผนที่พื้นฐานที่นำไปสู่แผ่นที่ด้านอื่น


แผนที่จาก https://th.maps-thailand-th.com


2.แผนที่ด้านการทหาร  Topographic map

          เป็นแผนที่ลักษณะภูมิประเทศ L7017 ,L7018 , ฯลฯ ซึ่งเป็นแผนที่เฉพาะ จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร

มีลักษณะพิเศษ มีความละเอียดของชั้นข้อมูลสูง  ใช้ในกิจการทหาร เพื่อความมั่นคงของประเทศ


อ้างอิงจาก:กรมแผนที่ทหาร (ใช้เพื่อศึกษา เท่านั้น มิได้เผยแพร่ข้อมูลแต่ประการใด)


3.แผนที่ด้านการข่นส่ง 

          เป็นแผนที่แสดงเส้นทางการคมนาคมทางบก บ่งบอกชนิดและหมายเลขของถนน เช่น ถนนทางหลวงหมายเลข 7  ถนนทางหลวงชนบท ชบ.3147 เป็นต้น ใช้สำหรับเป็นคู่มือในการเดินทาง หรือขนส่งสินค้าต่างๆ


4.แผนที่ภูมิประเทศ

         เป็นแผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศ  ใช้เทคโนโลยี GIS ช่วยในการจัดทำแผนที่ ซึ่งใช้เฉดสี แสดงระดับความสูงต่ำของพื้นที่ เพื่อง่ายต่อการดูแผนที่ จากภาพ เฉดสีจะแสดงเห็น ภูเขามากมายในภาคเหนือ และ พื้นที่ราบสูงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสูงกว่าภาคกลาง เป็นต้น(แผนที่นี้แอดจัดทำเอง ซึ่งแอดลืมใส่ เส้นทางน้ำลงไป อาจจะยังดูไม่ถูกหลักวิชาการ แต่เพื่อเป็นกรณีศึกษา)



5.แผนที่ธรณีวิทยา

          เป็นแผนที่จำแนกสัญฐานทางธรณีวิทยา เช่น ชั้นหิน ,ชุดหินที่ปกคลุมพื้นผิวโลก บริเวณประเทศไทย ใช้สัญลักษณ์ หรือสี ในการแสดงชั้นหินแต่ละหน่วย ตลอดจนลักษณะการวางตัวหรือโครงสร้างทางธรณีวิทยา


อ้างอิงจาก : กรมทรัพยากรธรณี


6.แผนที่อุตุนิยมวิทยา

          เป็นแผนที่แสดงการคาดการณ์สภาพอากาศช่วง ณ.เวลาหนึ่ง โดยใช้สัญลักษณ์ และเส้นไอโซบาร์ ในการอธิบายลักษณะสภาพอากาศบริเวณนั้นๆ ซึ่งข้อมูลมาจาก สถานีตรวจวัดอากาศภาคพื้นดิน นำมาจัดทำแผนที่ดังกล่าว


อ้างอิงจาก : กรมอุตุนิยมวิทยา


7.แผนที่อุทกศาสตร์ 

          เป็นแผนที่แสดงลักษณะทางกายภาพของพื้นท้องทะเล แม่น้ำ แสดงหลักไฟนำร่องการเดินเรือ แสดงความลึกน้ำ ณ.ตำบลนั้นๆ ซึ่งความลึกน้ำ ในประเทศไทย มีหน่วย เมตร จากระดับทะเลปานกลาง(M.S.L.)  หรือ ที่นิยมใช้เป็นแผนที่อุทกศาสตร์ ของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นเมตร หักลงหาระดับน้ำลงตำ่สุด (L.L.W.)  แผนที่นี้ใช้สนับสนุนงานทางทหารเรือ และการเดินทางคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก โดยกรมอุทกศาสตร์ เป็นผู้สำรวจ และจัดทำแผนที่นี้ขึ้นมา แอดมีแผนที่ มาให้ชม 2 ตัวอย่าง ดังนี้


ตัวอย่างที่ 1 แผนที่อุทกศาสตร์ (ร่องน้ำเดินเรือ) จัดทำโดยการท่าเรือแห่งประเทศไทย หน่วยวัด เป็นเมตร จากระดับทะเลปานกลาง


อ้างอิงจาก:การท่าเรือแห่งประเทศไทย (ใช้เพื่อศึกษา เท่านั้น มิได้เผยแพร่ข้อมูลแต่ประการใด)


ตัวอย่างที่ 2 แผนที่อุทกศาสตร์  จัดทำโดยกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ หน่วยวัด เป็นเมตร หักลงหาระดับน้ำลงต่ำสุด



อ้างอิงจาก: กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ (ใช้เพื่อศึกษา เท่านั้น มิได้เผยแพร่ข้อมูลแต่ประการใด)


………………………………


 การสร้างแผนที่ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ 

          ปัจจุบัน เทคโนโลยีในการจัดทำแผนที่ได้พัฒนาขึ้นมาก เนื่องจาก มีระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เข้ามามีบทบาทสำคัญ ทำให้การสร้างแผนที่ ดูง่ายขึ้น ซึ่งการสร้างแผนที่ ที่ถูกต้อง ตามหลักวิชาการ ต้องเข้าใจองค์ประกอบของแผนที่ ดังนี้

1.ชื่อแผนที่

2.ระวาง

3.ทิศ

4.สัญลักษณ์

5.พิกัดแผนที่

6.มาตราส่วนแผนที่

7.เส้นโครงแผ่นที่

8.คำอธิบายสัญลักษณ์

ตัวอย่างแผนที่

แผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศ จังหวัดชลบุรี (แอดจัดทำเอง😁😁😁)ครบทั้ง 8 องค์ประกอบสำคัญ




































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น