ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger Geographic Information System : การอ่านค่ามาตราน้ำขึ้น - ลง
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การอ่านค่ามาตราน้ำขึ้น - ลง

การอ่านค่ามาตราน้ำ ขึ้น - ลง 


               มาตราน้ำ หรือ ตารางน้ำ เป็นการพยากรณ์ระดับน้ำขึ้น-ลงอย่างละเอียดในแต่ละชั่วโมง ของ          กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ซึ่งได้เก็บรวมรวมข้อมูลระดับน้ำขึ้นลงมาอย่างยาวนาน นำมาคำนวณโดยใช้โปรแกรมจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน ซึ่งผลที่ได้ออกมาค่อนข้างมีความเม่นยำสูง 

              สำหรับมาตราน้ำนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากของชาวเรือ ชาวประมง หรือ กัปตันเรือเดินสมุทรต่างๆ รวมไปถึงคนที่ชอบตกปลาด้วย ซึ่งไม่อาจจะมองข้ามได้เลย ดังนั้นการอ่านหรือการศึกษามาตราน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญ

              สถานที่ที่เก็บรวจรวมข้อมูลน้ำขึ้น-ลงในประเทศไทยมีหลายแห่ง อยู่ตามสถานที่สำคัญต่างๆที่เป็นยุทธศาสตร์ของการเดินเรือ ต่างๆในประเทศไทย  อาทิ แม่น้ำเจ้าพระยา ทะเลอ่าวไทย และ ทะเลอันดามัน ซึ่ง การใช้มาตราน้ำ หรือการอ่านนั้น ต้องใช้ให้ถูกตำบลนั้นๆ หรือ ใกล้เคียงมากที่สุด เช่น ออกเรือไปตกปลา ที่ปากแม่น้ำตาปี ควรจะใช้ มาตราน้ำของ เกาะปราบ ซึ่งใกล้เคียงมากที่สุด จะใช้ของเกาะสมุย มิได้ เป็นต้น



การอ่านค่าในมาตราน้ำ มีส่วนที่สำคัญๆอยู่หลายส่วนที่ควรจะรู้ ดังรูป



การอ่านตารางน้ำ


               จากมาตราน้ำข้างต้น เป็นมาตราน้ำ ของเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎ์ธานี เดือนธันวาคม  ปี 2560  มาตราน้ำดังกล่าวบอกอะไรเราบ้าง   ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า แต่ละปี กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ได้จัดทำมาตราน้ำออกมาซึ่งจะมีครบทั้ง 12 เดือน ละเอียดถึงเป็นรายชั่วโมง  

               จากหัวตารางนั้นจะบอกจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการเก็บข้อมูลระดับน้ำขึ้น-ลง รวมไปถึงพิกัดทางภูมิศาสตร์  ในหัวตารางด้านบนนั้น ตัวเลขในแนวนอน จะบอกช่วงเวลา เริ่มตั้งแต่ 0:00 น. ถึง 23:00 น.  แต่จะไม่มี 24:00 น. เนื่องจาก 24:00 น. นั้น คือ 0:00 น. ของอีกวันนั้นเอง  ส่วนตัวเลขในแถวหน้าของตาราง จะบอก วันที่ของเดือนนั้นๆ และจะมีลัญลักษณ์ของดวงจันทร์ ซึ่งบอกเป็นนัย สำหรับปฏิทินแบบจันทรคติ ด้วย แต่จะบอกแค่ วันที่ ขึ้น 8 ค่ำ ,ขึ้น 15 ค่ำ ,แรม 8 ค่ำ ,และ แรม 15 ค่ำ เท่านั้น 

               ในมาตราน้ำดังกล่าว ยกตัวอย่างของวันที่ 18 เดือนธันวาคม ปี 2560 ซึ่งเป็นวัน แรม 15 ค่ำ เดือนยี่ ตามปฏิทินแบบจันทรคติ จะเห็นได้ว่า ช่วงเวลา 11:00 น. -  12:00 น. น้ำขึ้นสูงสุดของวัน อยู่ที่ 2.7 หรือ 2.70เมตร เนื่องจากระดับน้ำขึ้น-ลง เป็นหน่วยของเซ็นติเมตร ซึ่งบางที่ก็ 10 ซม. บางครั้ง ก็ 20 ซม.บ้าง อยู่ที่ความแรงของกระแสน้ำ ชาวเรือจึงชอบเรียกว่า(เดย์น้ำ) ซึ่ง 1 เดซิเมตร เท่ากับ 10 ซม. นั้นเอง จากนั้น ช่วงเวลา 13:00 น. ระดับน้ำอยู่ที่ 2.50 เมตร  หมายความว่า ใน 1 ชั่วโมง น้ำได้ลดลง ไป 20 เซ็นติเมตร ต่อมา ในช่วงตั้งแต่ 12:00 น. - 13:00 น. ชาวเรือจะเรียกกันว่า หัวน้ำลง หรือรอยต่อช่วงที่น้ำขึ้นสูงสุดของวันกำลังลดลงนั้นเอง ช่วงนี้ปลาจะกินเบ็ดมากสุด ในกรอบสีเขียว แสดงระดับน้ำคงที่ อยู่ที่ 1.60 เมตร ตั้งแต่ 22:00 น. ของวันที่ 18  จนถึง 03:00 น. ของวันที่ 19  ชาวเรือจะเรียกว่าน้ำตาย หรือน้ำหยุดนิ่ง ไม่มีกระแสน้ำ นั้นเอง และตั้งแต่ 03:00 น. - 04:00 น. ชาวเรือจะเรียกกันว่า หัวน้ำขึ้น หรือรอยต่อช่วงที่น้ำลงสุดของวันกำลังขึ้นนั้นเอง 

               ความแรงของกระแสน้ำดูได้จากมาตราน้ำเช่นกัน โดยปกติแล้ว ใน 1 ชั่วโมง น้ำขึ้น - ลง ต่างกัน 0.10 เมตร แสดงว่าน้ำไหลปกติ  แต่ถ้า  ใน 1 ชั่วโมง น้ำขึ้น - ลง ต่างกัน 0.20 เมตร แสดงว่าน้ำค่อนข้างแรง กรณีที ใน 1 ชั่วโมง น้ำขึ้น - ลง ต่างกัน 0.30 - 40 เมตร นั้นหมายความว่า กระแสน้ำไหลแรงมาก ช่วงนี้นักดำน้ำไม่นิยมลงไปดำน้ำกันเนื่องจากกระแสน้ำแรง ทำให้เสียการทรงตัวในน้ำได้ อาจจะเกิดการหลงทิศและไหลไปตามน้ำได้ครับ 

             หมายเหตุ :ช่วงเวลาที่น้ำขึ้นสูงหรือลงต่ำสุด ชาวเรือจะบวกลบเวลาไปอีก 30 นาที ซึ่ง จะเป็นช่วงที่กระแสน้ำอ่อนที่สุด เพราะเป็นช่วงที่การเคลื่อนที่ถึงจุดสูงสุดและต่ำสุด ความเร็ว หรือกระแสน้ำจะเบาลง หรือลดความเร็วลง หลักการจะคล้ายๆการเคลื่ยนที่แบบโปรเจ็คไทล์ เมื่อขว้างวัตถุไปข้างหน้า จะไม่แรงจากแกน X และแกนY เสริมกัน เมื่อวัตถุถึงจุดสูงสุดความเร็วจะเบาลง และจะเร็วขึ้นเมื่อวัตถุกำลังจะตกถึงพื้น  

         

  
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น