การคำนวณปริมาตรดินขุดลอกนั้น นอกจากจะคำนวณบริเวณพื้นที่ขุดลอกแล้ว ยังมีส่วนที่สำคัญอีกส่วนคือ ขอบของพื้นที่ที่จะขุดลอก ซึ่งมีจำนวนดินไม่น้อย ถ้าเราคำนวณแต่บริเวณพื้นที่ขุดลอก ในส่วนของขอบของพื้นที่ ดินจะเกิดการสไลด์ (Slide) ของดินที่อยู่สูงกว่า ลงมายังพื้นที่ที่ขุดลอก ดังนั้นเราจึงต้องคำนวณความลาดชัน(Slope)ของดินบริเวณขอบของพื้นที่ที่จะขุดลอกออกไปด้วย
ซึ่งความลาดชัน(Slope) จะคิดเป็นสัดส่วน 1:2 ,1:4 ,1:5 ฯลฯ ตามชนิดของดินบริเวณที่ขุดลอกนั้นๆ
ตัวอย่าง กรณีคำนวณขุดลอกหน้าท่าเรือแห่งหนึ่งในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณโค้งน้ำ ลักษณะดินจะเป็น ดินเหนียว ซึ่งจะใช้ (Slope) คิดเป็นสัดส่วน 1:2
จากรูปดังกล่าว เป็นกราฟผลการสำรวจ Hydrographic ซึ่งนำมา processed เรียบร้อยแล้ว คำนวณ Design ระดับขุดลอกไว้ที่ -8.00 เมตร LLW. ซึ่งระดับพิ้นดินเดิมหน้าท่าเรืออยู่ประมาณ -3.90 เมตร LLW. ความต่างระดับอยู่ที่ 4.10 m.
การคำนวณ ความลาดชัน(Slope) สัดส่วน 1:2 หมายความว่า ความต่างระดับ 1 ส่วน ความยาว 2 ส่วน
ซึ่งจากรูปดังกล่าว ความต่างระดับอยู่ที่ 4.10 m. ซึ่งจะหมายความว่า ความต่างระดับ 4.10 เมตร ความยาว 8.20 เมตร นั้นเอง เส้นความลาดชัน(Slope)จะลากยาวไปจนบรรจบกับเส้นระดับพิ้นดินเดิม หรือจนกว่าจะมีสิ่ง กีดขวาง ขวางกั้น เช่น ขอบกำเเพง หรือผนังเขื่อน เป็นต้น
กรณีท่าเรือ ท่านั้นๆเป็นท่าตัน หมายถึงท่าเรือที่ใต้ท่าทึบหรือไม่มีดินสะสมอยู่ กรณีนี้ไม่ต้องคำนวณความลาดชัน(Slope)หน้าท่า แต่ต้องคำนวณความลาดชัน(Slope)ด้านข้างและด้านนอกเสมอ เว้นแต่ระดับดินด้านนอกลึกว่าระดับคำนวณ Design ขุดลอกจึงไม่ต้องคำนวณความลาดชัน(Slope)แต่อย่างใด
เรียบเรียงโดย วิศวกรสำรวจทางทะเล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น