ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger Geographic Information System : วิธีคำนวณความลึกของระดับน้ำหน้าท่าเรือในช่วงเวลาหนึ่ง
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

วิธีคำนวณความลึกของระดับน้ำหน้าท่าเรือในช่วงเวลาหนึ่ง

วิธีคำนวณความลึกของระดับน้ำหน้าท่าเรือ 


               ท่าเรือเป็นสิ่งสำคัญมากในการขนถ่ายสินค้า เข้าออก รวมไปถึงขนส่งผู้โดยสาร ในการเดินทางสัญจร ในที่นี้หมายถึงท่าเรือที่มีกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งการดูแลความสะดวกของการเข้าออกของเรือ ไม่ว่าจะเป็นการเทียบท่าเรือ เพื่อขนถ่ายสินค้า และขนถ่ายผู้โดยสาร  ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนที่สำคัญ และส่วนที่สำคัญควบคู่กันไปก็คือ ระดับความลึกของน้ำหน้าท่าเรือนั้นๆ ว่าเรือสามารถเข้ามาจอดเทียบท่าได้หรือไม่ ซึ่งเรือแต่ละลำกินน้ำลึกไม่เท่ากัน บางลำกินน้ำลึก 2-3 เมตร บางลำก็กินน้ำลึก มากกว่า 5 เมตร ส่วนท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา กินน้ำลึกได้ประมาณไม่น่าจะเกิน 8 เมตร ครับ ถ้า มากกว่านั้น จะ"ติดแห้ง"ครับ ชาวเรือเค้าหมายถึงเรือเกยตื่นครับ การกินน้ำลึกของเรือจะอยู่ที่น้ำหนักของการบรรทุกของเรือแต่ละลำ และก็ขนาดรูปทรงของเรือก็มีส่วนในการกินน้ำลึกเช่นกัน

              การคำนาณความลึกของระดับน้ำหน้าท่าเรือจึงเป็นส่วนสำคัญ ประกอบกับวันเวลาที่น้ำขึ้น-ลง ยิ่งมีส่วนสำคัญในการบริหารจัดการ การเทียบท่าของเรือ ไม่อย่างนั้น เรืออาจจะติดแห้งได้ครับ หลักในการคำนวณไม่ยากครับ โดยปกติแล้ว ท่าเรือขนาดใหญ่ๆจะสร้างหน้าท่าเรือ สูงไม่ตำกว่าระดับ 4.00 เมตร LLW.  คำว่า LLW.หมายถึงอะไร  LLW (Lowest Low Water) หมายถึง ระดับน้ำลงต่ำสุด  ซึ่ง จากที่กล่าวมาหมายความว่า ท่าเรือส่วนใหญ่จะสร้างโดยมีความสูง สูงจากระดับน้ำลงต่ำสุด 4.00 เมตร ขึ้นไป  แล้วถ้าเราจะคิดให้เป็นระดับทะเลปานกลาง(MSL.)ล่ะ จะได้เท่าไหร่  ในกรณีนี้ ต้องบอกไว้ก่อนว่า ระดับความต่างของระดับน้ำลงต่ำสุด(LLW) และระดับทะเลปานกลาง(MSL.) แต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับน้ำลงต่ำสุขของตำบนนั้น  ซึ่งเราโชคดี ที่กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ได้ คำนวณให้เราแล้ว ว่าความต่างในแต่ละพื้นที่ แต่ต่างกันเท่าไหร่ตามสถานีที่วัดระดับน้ำ  ดังรูป
              

ข้อมูลเทียบระดับน้ำลงตำสุดกับระดับทะเลปานกลาง อ้างอิงจากหนังสือมาตราน้ำ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ

               อธิบายง่ายๆเช่น สถานีป้อมพระจุลจอมเก้า ระดับน้ำลงต่ำสุด 0.00 LLW. จะต่ำกว่าระดับทะเลปานกลาง อยู่ 1.84 เมตร ซึ่งหมายความว่า ที่ ระดับน้ำลงต่ำสุด 0.00 LLW. ระดับทะเลปานกลาง จะอยู่ -1.84 MSL.

ตัวอย่างในการคำนวณเทียบระหว่างระดับLLW. และระดับMSL.


             จากข้อมูล ท่าเรือแห่งนี้ ความสูงหน้าท่าเรือ อยู่ที่ 4.00 เมตร LLW. หากจะเทียบให้เป็น MSL. จะทำอย่างไร  เนื่องจาก ท่าเรือแห่งนี้อยู่ใกล้สถานีวัดระดับน้ำ ป้อมพระจุลจอมเกล้า ซึ่งค่าน้ำลงต่ำสุด (LLW.)มีค่าต่ำกว่าระดับทะเลปานกลาง(MSL.) อยู่ 1.840 เมตร ซึ่งคำว่าต่ำกว่าหมายถึงติดลบจากระดับ 0.00 LLW.  จากรูปที่1ด้านบน  แสดงว่า ระดับ MSL.ของท่าเรือ จะเท่ากับ 4.00 - 1.84 = 2.16 เมตร  MSL. นั้นเอง

             

ตัวอย่างในการคำนวณระดับน้ำหน้าท่าเรือในช่วงเวลาหนึ่ง

               การคำนวณระดับน้ำหน้าท่าเรือนั้น แต่ล่ะช่วงเวลาจะไม่เท่ากัน เนื่องจากระดับขึ้นลงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

               จากข้อมูล ท่าเรือแห่งนี้ ความสูงพื้นท่าเรือ อยู่ที่ 4.00 เมตร LLW.  ทำการสำรวจหน้าท่าเรือในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งสำรวจโดยใช้การโยนดิ่งวัดระดับน้ำพบว่า จากพื้นท่าเรือถึงผิวหน้าดินใต้น้ำ ระยะทาง 9.50 เมตร
แล้ววัดจากหน้าท่าลงไปถึงผิวน้ำ ได้ระยะทาง 2.16 เมตร จากข้อมูลตังกล่าว นำมาคำนวณได้ ดังนี้
       
      ระดับความลึกของน้ำหน้าท่าเรือช่วงเวลานั้น =  ระยะทางพื้นท่าเรือถึงพื้นดินใต้น้ำ - ระยะทางจากหน้า                                                                                           ท่าเรือลงไปถึงผิวน้ำ
                                                                             = 9.50 - 2.16
                                                                             =  7.34 เมตร
               แต่ถ้าอยากรู้ว่า ค่าความลึกจากระดับ 0.00 LLW. ลงไป ให้นำค่าระยะทางท่าเรือถึงพื้นดินใต้น้ำ - ความสูงพื้นท่าเรือ LLW. จะได้ความลึกจากระดับ 0.00 LLW. ลงไป เช่นตัวอย่างด้านบน 9.50 - 4.00 = 5.50 เมตร นั้นหมายถึงความลึก -5.50 LLW. นั้นเอง

                และระดับน้ำขึ้นลง ณ.ช่วงเวลาสำรวจ หาได้จาก นำค่าความสูงของท่าเรือ LLW. - ระยะทางจากหน้าท่าเรือลงไปถึงผิวน้ำ  ก็จะได้ ระดับน้ำขึ้น-ลง ณ.ช่วงเวลานั้น ว่า อยู่ที่ระดับเท่าไหร่ ซึ่งตัวอย่างด้านบน ระดับน้ำขึ้น-ลงช่วงเวลานั้นอยู่ที่ 1.84 LLW. โดยค่าที่ได้ เมื่อนำไปเทียบกับตารางน้ำของกรมอุทกศาสตร์              กองทัพเรือ แล้วจะมีค่าใกล้เคียงกันมากที่สุด

   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น