ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger Geographic Information System
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2564

การสร้างแผนที่อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

 การสร้างแผนที่ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ 

“แผนที่” คืออะไร สำคัญ อย่างไร และใช้ประโยชน์ในด้านไหนบ้าง 

          ก่อนอื่นเรามารู้จักความหมายของแผนที่กันก่อน แผนที่หมายถึง สิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกที่เกิดจากธรรมชาติ หรือที่มนุษย์สร้างขึ้น นำมาแสดงโดยการย่อลงบนแผ่นแบนราบ โดย ย่อให้ได้อัตราส่วนตามที่ต้องการ ใช้เครื่องหมาย,สัญลักษณ์,เส้น,สี ฯลฯ แทนสิ่งนั้นๆให้เข้าใจความหมายโดยง่าย (แอดตั้งเติมเล็กน้อย)

ตัวอย่างแผนที่  ราชอาณาจักรสยาม


เขียนโดย บาทหลวงปลาชิด เดอ แซ็งค์ เอแลน นักบวชชาวฝรั่งเศส สมัยพระนารายณ์มหาราช 

ใช้ลายเส้นวาดขอบเขตราชอาณาจักร ใช้สัญลักษณ์ แทนท่าเรือหรือเมืองท่า ซึ่งสมัยก่อน เดินทาง ขนส่งสินค้าทางเรือเป็นหลัก


        ปัจจุบัน ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ได้เข้ามามีบทบาทในการ จัดทำและจำแนกแผนที่ ให้เป็นหมวดหมู่มากขึ้น แผนที่จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ อย่างมาก ทั้งด้านการปกครอง ด้านความมั่นคงของประเทศ ด้านการทหาร ด้านการขนส่ง ฯลฯ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตที่ขาดไม่ได้ 

 แอดจะยกตัวอย่าง มาให้ชม ดังนี้

1.แผนที่ด้านการเมืองการปกครอง

          เป็นแผนที่หลัก ที่มีความสำคัญกับความมั่นคงของประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากบ่งบอกอำนาจอธิปไตยของประเทศ เส้นแบ่งเขตประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน แผนที่นี้จึงเป็นแผนที่พื้นฐานที่นำไปสู่แผ่นที่ด้านอื่น


แผนที่จาก https://th.maps-thailand-th.com


2.แผนที่ด้านการทหาร  Topographic map

          เป็นแผนที่ลักษณะภูมิประเทศ L7017 ,L7018 , ฯลฯ ซึ่งเป็นแผนที่เฉพาะ จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร

มีลักษณะพิเศษ มีความละเอียดของชั้นข้อมูลสูง  ใช้ในกิจการทหาร เพื่อความมั่นคงของประเทศ


อ้างอิงจาก:กรมแผนที่ทหาร (ใช้เพื่อศึกษา เท่านั้น มิได้เผยแพร่ข้อมูลแต่ประการใด)


3.แผนที่ด้านการข่นส่ง 

          เป็นแผนที่แสดงเส้นทางการคมนาคมทางบก บ่งบอกชนิดและหมายเลขของถนน เช่น ถนนทางหลวงหมายเลข 7  ถนนทางหลวงชนบท ชบ.3147 เป็นต้น ใช้สำหรับเป็นคู่มือในการเดินทาง หรือขนส่งสินค้าต่างๆ


4.แผนที่ภูมิประเทศ

         เป็นแผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศ  ใช้เทคโนโลยี GIS ช่วยในการจัดทำแผนที่ ซึ่งใช้เฉดสี แสดงระดับความสูงต่ำของพื้นที่ เพื่อง่ายต่อการดูแผนที่ จากภาพ เฉดสีจะแสดงเห็น ภูเขามากมายในภาคเหนือ และ พื้นที่ราบสูงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสูงกว่าภาคกลาง เป็นต้น(แผนที่นี้แอดจัดทำเอง ซึ่งแอดลืมใส่ เส้นทางน้ำลงไป อาจจะยังดูไม่ถูกหลักวิชาการ แต่เพื่อเป็นกรณีศึกษา)



5.แผนที่ธรณีวิทยา

          เป็นแผนที่จำแนกสัญฐานทางธรณีวิทยา เช่น ชั้นหิน ,ชุดหินที่ปกคลุมพื้นผิวโลก บริเวณประเทศไทย ใช้สัญลักษณ์ หรือสี ในการแสดงชั้นหินแต่ละหน่วย ตลอดจนลักษณะการวางตัวหรือโครงสร้างทางธรณีวิทยา


อ้างอิงจาก : กรมทรัพยากรธรณี


6.แผนที่อุตุนิยมวิทยา

          เป็นแผนที่แสดงการคาดการณ์สภาพอากาศช่วง ณ.เวลาหนึ่ง โดยใช้สัญลักษณ์ และเส้นไอโซบาร์ ในการอธิบายลักษณะสภาพอากาศบริเวณนั้นๆ ซึ่งข้อมูลมาจาก สถานีตรวจวัดอากาศภาคพื้นดิน นำมาจัดทำแผนที่ดังกล่าว


อ้างอิงจาก : กรมอุตุนิยมวิทยา


7.แผนที่อุทกศาสตร์ 

          เป็นแผนที่แสดงลักษณะทางกายภาพของพื้นท้องทะเล แม่น้ำ แสดงหลักไฟนำร่องการเดินเรือ แสดงความลึกน้ำ ณ.ตำบลนั้นๆ ซึ่งความลึกน้ำ ในประเทศไทย มีหน่วย เมตร จากระดับทะเลปานกลาง(M.S.L.)  หรือ ที่นิยมใช้เป็นแผนที่อุทกศาสตร์ ของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นเมตร หักลงหาระดับน้ำลงตำ่สุด (L.L.W.)  แผนที่นี้ใช้สนับสนุนงานทางทหารเรือ และการเดินทางคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก โดยกรมอุทกศาสตร์ เป็นผู้สำรวจ และจัดทำแผนที่นี้ขึ้นมา แอดมีแผนที่ มาให้ชม 2 ตัวอย่าง ดังนี้


ตัวอย่างที่ 1 แผนที่อุทกศาสตร์ (ร่องน้ำเดินเรือ) จัดทำโดยการท่าเรือแห่งประเทศไทย หน่วยวัด เป็นเมตร จากระดับทะเลปานกลาง


อ้างอิงจาก:การท่าเรือแห่งประเทศไทย (ใช้เพื่อศึกษา เท่านั้น มิได้เผยแพร่ข้อมูลแต่ประการใด)


ตัวอย่างที่ 2 แผนที่อุทกศาสตร์  จัดทำโดยกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ หน่วยวัด เป็นเมตร หักลงหาระดับน้ำลงต่ำสุด



อ้างอิงจาก: กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ (ใช้เพื่อศึกษา เท่านั้น มิได้เผยแพร่ข้อมูลแต่ประการใด)


………………………………


 การสร้างแผนที่ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ 

          ปัจจุบัน เทคโนโลยีในการจัดทำแผนที่ได้พัฒนาขึ้นมาก เนื่องจาก มีระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เข้ามามีบทบาทสำคัญ ทำให้การสร้างแผนที่ ดูง่ายขึ้น ซึ่งการสร้างแผนที่ ที่ถูกต้อง ตามหลักวิชาการ ต้องเข้าใจองค์ประกอบของแผนที่ ดังนี้

1.ชื่อแผนที่

2.ระวาง

3.ทิศ

4.สัญลักษณ์

5.พิกัดแผนที่

6.มาตราส่วนแผนที่

7.เส้นโครงแผ่นที่

8.คำอธิบายสัญลักษณ์

ตัวอย่างแผนที่

แผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศ จังหวัดชลบุรี (แอดจัดทำเอง😁😁😁)ครบทั้ง 8 องค์ประกอบสำคัญ




































































วิธีดาวโหลดภาพถ่ายดาวเทียม แบบชัดเวอร์

 ขั้นตอนการโหลดภาพถ่ายดาวเทียมจาก โปรแกรม Universal Maps Downloader


1. เปิดโปรแกรม Universal Maps Downloader  


2. เลือก ชุดข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม  หมายเหตุ ภาพถ่ายดาวเทียม มีให้เลือกหลายแบบ


3. เปิด GOOGLE EARTH เพื่อ ดูพิกัด มุมบน ซ้าย  ของภาพที่จะโหลด


4. ดูพิกัด มุมล่างขวา  ของภาพที่จะโหลด


5. COPY พิกัดมุมบนซ้าย มุมล่างขวาจาก GOOGLE EARTH มาใส่, เลือก Level การซูมภาพ ,เลือกที่เก็บ และ กด Start เพื่อโหลดภาพ


6.โปรแกรมแสดงการดาวน์โหลด


7.โหลดภาพเสร็จสมบูรณ์


8.ไฟล์ภาพ จำนวนมาก ก่อนการ รวมภาพเป็นไฟล์เดียว


9.เลือก TOOL > MAP COMBINER (การรวมภาพ)


10. เลือก ไฟล์ต้นแบบข้อมูลรวมภาพ ที่ได้เซฟไว้ก่อนดาวน์โหลด (ไฟล์นามสกุล .UMD)

>เลือก ชนิดภาพ TIFF FILE > เลือก พิกัดโครงแผนที่ สำหรับภาพถ่ายดาวเทียม > กด COMBINER


11.โปรแกรมดำเนินการรวมภาพถ่ายดาวเทียม


12.การรวมภาพเสร็จสมบูรณ์


13.ภาพถ่ายดาวเทียมถูกจัดเก็บในโฟลเดอร์ที่ตั้งไว้


14.นำภาพถ่ายดาวเทียมไปใช้งานในโปรแกรมอื่นๆ  อาทิ AutoCad Civil 3D


15.ใช้คำสั่ง MAPIINSERT เพื่อเปิดภาพถ่ายดาวเทียม มีค่าพิกัด


16.โปรแกรมจะ Run ค่าพิกัดภาพ และ ข้อมูลภาพให้เอง >กดOK


17.โปรแกรมจะแสดง ไฟล์ภาพขึ้นมาโดยไปอยู่ในพิกัดที่ต้องการ


18.CLIP RASTER เพื่อนำภาพไปใช้ต่อไป 


หมายเหตุ 

จากการใช้โปรแกรม  Universal Maps Downloader   ภาพถ่ายดาวเทียม ที่โหลด สามารถเลือกโหลดภาพถ่ายได้หลาย ชุดข้อมูล ซึ่งผู้จัดทำ เลือกข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม แบบ  world imagery wayback 2021-07-21 WB_2021_R10 ซึ่งเป็นภาพถ่ายดาวเทียมย้อนหลังของปี พ.ศ.2563 อัพโหลดในปี พ.ศ.2564 ไว้เป็นกรณีศึกษา


**ข้อมูลทั้งหมด รวมถึงโปรแกรมที่ดำเนินการ  ซึ่งใช้ในกรณีศึกษาเท่านั้น **






วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

การนำแผนที่ มีพิกัด LAT & LONG ไปใช้งานในโปรแกรมต่างๆ

การนำแผนที่ มีพิกัด ไปใช้งานโปรแกรมต่างๆ


"โปรแกรม Google Earth Pro"


การนำแผนที่ร่องน้ำเดินเรือ ที่มีพิกัด LAT & LONG ไปซ้อนทับภาพถ่ายดาวเทียมใน GOOGLE EARTH เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาลักษณะร่องน้ำเดินเรือ บริเวณพื้นที่ตำบลนั้นๆ  โดยการซ้อนทับแผนที่ มีขั้นตอน ดังนี้ ...


1.เปิดโปรแกรม Google Earth


2.ไฟล์ - นำเข้า


3.เลือกภาพ - กด OPEN


4.GOOGLE EARTH กำลัง ZOOM MAP ไปยังพื้นที่ซ้อนทับ


5.กดตรง มาตราส่วน เพื่ออัพโหลดภาพ


6.โหลดภาพ


7.แสดงภาพซ้อนทับ
8.ภาพแผนที่ ซ้อนทับ GOOGLE EARTH MAP

9.การสร้างภาพซ้อนทับโปร่งใส  คลิกขวาที่ภาพเป้าหมาย - ปรับความโปร่งใส่ตามต้องการ - กดตกลง


10.ภาพแสดงภาพแผนที่ร่องน้ำเดินเรือโปร่งใส ซ้อนทับแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม 


หมายเหตุ 

-แผนที่อ้างอิง แผนที่ร่องน้ำเดินเรือแม่น้ำเจ้าพระยา การท่าเรือแห่งประเทศไทย
-การซ้อนทับแผนที่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาเท่านั้น









วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2564

การตรึงภาพถ่ายดาวเทียม หรือ แผนที่ ให้มีข้อมูลพิกัด LAT & LONG หรือ UTM (Georeference) และการโมเสกภาพ (Mosaic)

หัวข้อที่ 1

การตรึงพิกัดภาพถ่ายดาวเทียม หรือ แผนที่  ให้มีข้อมูลพิกัด LAT & LONG หรือ UTM (Georeference)


            การตรึงภาพถ่ายดาวเทียม จัดทำขึ้นเพื่อแปลงไฟล์หรือใส่ค่าพิกัดลงในข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม หรือแผนที่ (Raster) เพื่อนำไปใช่ประโยชน์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล หรือนำข้อมูลไปซ้อนทับกับชั้นข้อมูลอื่นๆ   โดยมีขั้นตอนตรึงภาพถ่ายดาวเทียม ดังนี้    

1.ใช้ โปรแกรม Global Mapper ในการตรึงพิกัด


2.เปิดไฟล์ภาพที่จะนำมาตรึงพิกัด



   3.เลือกภาพที่จะนำมาตรึงพิกัด


4.เลือก Manually Rectify image > OK


  5.เลือก Projection เพื่อเข้าไปตั้งค่า เส้นโครงแผนที่ โดยเลือกตามความต้องการ เช่น (Geographic             LATITUDE,LONGITUDE) หรือ WGS 1984 ZONE 47 N

6.ZOOM ภาพไปยังขอบภาพด้านล่างซ้าย > คลิก > ใส้พิกัด LAT & LONG ในช่อง > กด ADD POINT


7.ZOOM ภาพไปยังขอบภาพด้านบนขวา > คลิก > ใส้พิกัด LAT & LONG ในช่อง > กด ADD POINT



8.ดำเนินการตามข้อที่ 7 ให้ครบทั้ง 4 มุมแผนที่  > ตรวจสอบข้อมูลพิกัด > OK


9.แผนที่มีข้อมูลพิกัดตามที่ได้ตรึงพิกัดไว้ข้างต้น


10.การ Cropping แผนที่ > เลือกสร้าง Polygon > ครอบแผนที่ในส่วนที่ต้องการ > จะได้ Polygon 1 ชิ้น


11.เลือก ข้อมูล Polygon ที่ได้สร้างขึ้นมา  1 ชิ้น > คลิกขวาที่ชั้นข้อมูลด้ายซ้าย > เลือก Option


12.เลือกหน้าต่าง Cropping > เลือก Crop to Currently to Selected Polygon > OK


13.แผนที่จากการ Cropping


..................................................................................................................

หัวข้อที่ 2 

การโมเสก (Mosaic)ภาพถ่ายดาวเทียม / แผนที่ 


        การโมเสกภาพ (MOSAIC) คือการนำภาพถ่ายดาวเทียม หรือแผนที่ ที่ได้รับการตรึงพิกัดภาพแล้ว    นำมาต่อภาพกันให้ได้สัดส่วนตามความเป็นจริงของพื้นที่นั้นๆ ให้เป็นภาพเดียวกัน โดยมีขั้นการโมเสกภาพ ดังนี้  


1.ข้อมูลภาพหรือแผนที่ จากการตรึงพิกัดและ Cropping ภาพไว้ข้างต้น ซึ่งมีพิกัดข้อมูลแล้วนั้น ภาพที่ 1


2.ดำเนินการเปิดไฟล์ภาพที่จะนำมาตรึงพิกัด (แผนที่ฉบับที่ 2)


3.ดำเนินการตรึงพิกัดแผนที่ตาม หัวข้อที่ 1

4.ภาพที่ 1 และ 2 เกิดจากการตรึงพิกัด และนำภาพมา Cropping ขอบส่วนเกินออกไป


5.ภาพที่ 1 ถึง 16 เกิดจากการตรึงพิกัด และนำภาพมา Cropping ขอบส่วนเกินออกไป


6.การรวมภาพ เลือก File > Export > Export Raster/Image Format 


7.เลือกชนิดไฟล์ เป็น "Geo TIFF"


8.เลือกหน้าต่าง Geo TIFF Options ปรับคุณสมบัติของภาพ > ปรับคุณภาพของภาพ 

9.ไปหน้าต่าง Export Bounds >เลือก All Loaded Data ข้อมูลภาพจะมีทั้งพิกัด LAT & LONG และ UTM


10.ตั้งชื่อภาพ > SAVE


11. โปรแกรมกำลัง โมเสกภาพ 


12.ภาพแผนที่ มีพิกัด สามารถนำไปซ้อนทับบน Google Earth หรือ เปิดในโปรแกรม AutoCad ฯลฯ 
หมายเหตุ 
การตรึงภาพให้มีพิกัด และการโมเสกภาพ ดำเนินการได้หลายวิธี ซึ่ง ผู้จัดทำใช้วิธีดังกล่าว เพราะง่ายและขั้นตอนไม่ยุ่งยากมากเกินไป 

*ขอขอบพระคุณแผนที่ร่องน้ำเดินเรือ โดยการท่าเรือแห่งประเทศไทย*
*โปรแกรม Global Mapper ในการดำเนินงาน*

**หัวข้อต่อไป คือการนำแผนที่ มีพิกัด ไปใช้งานในโปรแกรมต่างๆ***